คำถามที่พบบ่อย


ขั้นตอนการเปิดบัญชี เริ่มต้นใช้งาน การเข้าสู่ระบบ เริ่มต้นซื้อขาย การตั้งค่าต่างๆ สำหรับใช้งาน โปรแกรมซื้อขาย e-Finance eFin Trade Plus Streaming Stock Expert Krungsri Securities iFUND Krungsri Securities SBL Realtime Mobile Trading การซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ วิธีปฏิบัติเมื่อโปรแกรมซื้อขายขัดข้อง การฝาก/ถอนเงิน วิธีการฝากเงิน วิธีการถอนเงิน Online Direct Debit Bill payment ผ่าน KMA Bill payment ผ่านธนาคารอื่นๆ เลขบัญชีชำระค่าหุ้นและค่าธรรมเนียม แจ้งฝากหลักประกัน วิธีการสมัคร ATS ขั้นตอนการแจ้งผลการสมัคร ATS การโอนเงินระหว่างบัญชี วิธีการโอนหุ้น ค่าธรรมเนียมต่างๆ อัตราดอกเบี้ย เครดิตบาลานซ์ การขายชอร์ต เกี่ยวกับเงินปันผล ข้อมูลการซื้อ/ขาย วิธีการคำนวณต่างๆ การทบทวนข้อมูล KYC และ Suitability Test

ข้อมูลการซื้อ/ขาย การเพิ่มวงเงิน การโอนหุ้น วิธีการคำนวณต่างๆ

ขั้นตอนการแก้ไขคำสั่งซื้อขายผ่านโปรแกรม Streaming

โปรแกรม Streaming
 
1. หากท่านมีรายการซื้อ/ขาย รายการซื้อขายของท่านจะปรากฏในส่วนของ Order Status ด้านล่างหน้าจอ

2. คลิก link Change หรือ Detail ที่รายการที่ท่านต้องการเปลี่ยนแปลง (สามารถแก้ไข ราคา, จำนวน, NVDR และ Publish Volume)
หน้าจอโปรแกรม Streaming พร้อม Order Status


แอพพลิเคชั่น Streaming บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
1. หากท่านมีรายการซื้อ/ขาย รายการซื้อขายของท่านจะปรากฏในส่วนขจงเมนู Portfolio เลือกแถบเมนู Order

2. คลิกรายการที่ท่านต้องการเปลี่ยนแปลง จะปรากฏ ปุ่ม Change ด้านล่าง (สามารถแก้ไข ราคา และ จำนวน)

หน้าจอ Order บนแอพพลิเคชั่น Streaming หน้าจอ Change order บนแอพพลิเคชั่น Streaming



หมายเหตุ :

     - สามารถแก้ไขรายการได้ระหว่างเวลา 8.00 น. - Call Market ในวันที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการ

     - สามารถเปลี่ยนแปลงรายการที่รอจับคู่ได้เท่านั้น รายการที่ยกเลิกไปแล้ว หรือ รายการที่จับคู่ไปหมดแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้ (ยกเว้น การแก้ไข หุ้น NVDR)

     - หากมีการแก้ไขโดยลดแต่ปริมาณหุ้นลง และราคาไม่เปลี่ยนแปลง ท่านจะไม่เสียคิวในการรอจับคู่ซื้อขาย

วิธีการคำนวณต้นทุนหุ้น

“การซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตนั้นในตอนตั้งต้นระบบในตอนเช้าจะนำค่าต้นทุนที่ได้จากการคำนวณด้วยวิธี FIFO
แสดงในค่า Average Cost และในระหว่างวันจะหากมีการซื้อขายจะใช้วิธีการคำนวณต้นทุนและกำไรขาดทุน
โดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average Cost) และแสดงในค่า Average Price”

ตัวอย่างการคำนวณต้นทุนหุ้น โดยใช้วิธี FIFO และ วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยไม่รวม commission และ vat มีดังนี้

วันที่ 1 ซื้อหุ้น ABCD จำนวน 200 หุ้น ที่ราคา 10 บาท= 2,000
  ซื้อหุ้น ABCD จำนวน 300 หุ้น ที่ราคา 20 บาท= 6,000
  ขายหุ้น ABCD จำนวน 100 หุ้น ที่ราคา 10 บาท

วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก :วิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนของการได้มาถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวนหน่วยที่ได้มาในแต่ละครั้ง

Order ต้นทุนในพอร์ต วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
ต้นทุนขาย มูลค่าคงเหลือ ต้นทุนใหม่ในพอร์ต กำไร/ขาดทุน
ซื้อ 200 @10 บาท (2,000)/200=10        
ซื้อ 300 @20 บาท (2,000+6,000)/500=16        
ขาย 100 @10 บาท   16*100=1,600 8,000-1,600 =6,400 6,400/400=16 (10-16) *100=-600


วิธี FIFO : หุ้นที่ซื้อเข้ามาก่อนจะถูกขายออกไปก่อน

Order ต้นทุนในพอร์ต วิธี FIFO (แสดงต้นทุนในพอร์ตต้นวันเท่านั้น)
ต้นทุนขาย มูลค่าคงเหลือ ต้นทุนใหม่ในพอร์ต กำไร/ขาดทุน
ซื้อ 200
@10 บาท
(2,000)/200=10        
ซื้อ 300
@20 บาท
(2,000+6,000)/500=16        
ขาย 100
@10 บาท
  10*100
=1,000
(100*10+(300*20)
=7,000
7,000/400=17.5

สรุป จะเห็นว่าการคำนวณวิธี FIFO ใน order ที่ 3 นั้น ราคาทุนหุ้นที่ขายไปจะใช้ราคาของ Order แรกที่ซื้อเข้ามาคือ
ที่ราคา 10 บาท ไม่ใช่ 16 บาทซึ่งเป็นต้นทุนก่อนขาย

วิธีคำนวณคอมมิชชั่นและภาษีมูลค่าเพิ่ม

Case 1: ซื้อหุ้น ABCD 2,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 30 บาท ส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ค่าคอมมิชชั่น 0.15%
มูลค่าซื้อขาย 30*2,000 = 60,000 บาท
ค่าคอมมิชชั่น 60,000 X 0.15% = 90 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) 90 X 7 % = 6.30 บาท
ค่าคอมมิชชั่นรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 90 + 6.30 = 96.30 บาท
ดังนั้นมูลค่าซื้อขายรวมคอมมิชชั่นและภาษีมูลค่าเพิ่ม 60,000+96.30 = 60,096.30
 
Case 2: ซื้อหุ้น ABCD 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 30 บาท ส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ค่าคอมมิชชั่น 0.15%
มูลค่าซื้อขาย 30*1,000 = 30,000 บาท
ค่าคอมมิชชั่น 30,000 X 0.15% = 45 บาท
***เนื่องจากค่าคอมมิชชั่นไม่ถึง 50 บาท บริษัทฯ จะคิดค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำเท่ากับ 50 บาท***
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) 50 X 7 % = 3.50 บาท
ค่าคอมมิชชั่นรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 50 + 3.50 = 53.50 บาท
ดังนั้นมูลค่าซื้อขายรวมคอมมิชชั่นและภาษีมูลค่าเพิ่ม 30,000+53.50 = 30,053.50

*** หากในวันที่ท่านมีการซื้อขายและมีค่าคอมมิชชั่นไม่ถึง 50 บาท บริษัทฯจะเก็บค่าคอมมิชชั่นเท่ากับ 50 บาท หากมากกว่า 50 บาท บริษัทจะคิดค่าคอมมิชชั่นตามปกติ
 
Case 3: ซื้อหุ้น ABCD 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 30 บาท ส่งคำสั่งซื้อผ่านเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาการลงทุน
ค่าคอมมิชชั่น 0.25%
มูลค่าซื้อขาย = 30*1,000 = 30,000 บาท
ค่าคอมมิชชั่น 30,000 X 0.25% = 75 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) 75 X 7 % = 5.25 บาท
ค่าคอมมิชชั่นรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 75 + 5.25 = 80.25 บาท
ดังนั้นมูลค่าซื้อขายรวมคอมมิชชั่นและภาษีมูลค่าเพิ่ม 30,000+80.25 = 30,080.25
 

หมายเหตุ: อัตราดังกล่าวข้างต้นไม่รวมค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ (Trading Fee: 0.005%), ค่าธรรมเนียมการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Clearing Fee: 0.001%) และค่าธรรมเนียมการกํากับดูแล (Regulatory Fee: 0.0010%)

ทำไมบัญชี Cash Account ต้องวางเงินหลักประกัน 20%

ตลาดหลักทรัพย์ กำหนดให้เพิ่มอัตราการวางหลักประกันเป็น 20% ของวงเงินที่จะซื้อหลักทรัพย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของระบบชำระราคาและอุตสาหกรรมโดยรวม และสร้างความมั่นคงให้ระบบการซื้อขายมากขึ้น
เช่น วงเงิน 100,000 บาท จะต้องฝากเงินเป็นหลักประกัน 20,000 บาท

การส่งคำสั่งซื้อขายของวันรุ่งขึ้น ( Overnight Order) สามารถตั้งได้หรือไม่ ?

ลูกค้าที่มีบัญชีซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตสามารถส่งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 16.45 น. เป็นต้นไป

คำสั่งซื้อขายประเภทที่มีอายุข้ามวัน (GTC, GTD)

Good till Cancel (GTC): คำสั่งจะอยู่ในระบบซื้อขาย จนกว่าจะถูกยกเลิก

Good till Date (GTD): คำสั่งจะอยู่ในระบบซื้อขาย จนถึงวันที่กำหนด หรือจนกว่าจะถูกยกเลิก


โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดังนี้

1. คำสั่งจะถูกจัดเก็บในระบบสูงสุดไม่เกิน 30 วันปฏิทิน (วันที่ส่งคำสั่งนับเป็นวันที่ 1)

2. ระบบจะยกเลิกคำสั่ง Overnight Order ในกรณีดังนี้
- ราคาที่ระบุในคำสั่ง อยู่นอกกรอบราคา Ceiling & Floor ประจำวัน
- วันแรกที่หลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมายแสดงว่าราคาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นราคาที่ไม่รวมสิทธิประโยชน์* เช่น การจ่ายเงินปันผล (XD) การให้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (XR) การให้สิทธิในการได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิ (XW) และ การจ่ายเงินคืนทุน (XN) เป็นต้น (โดยจะพบเครื่องหมาย L ต่อจากเครื่องหมายสิทธิประโยชน์บน Streaming เช่น (XD,L) เป็นต้น )
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักทรัพย์ ตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดเช่น การเปลี่ยนพาร์ (Split Par) การเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ และการเปลี่ยนแปลงหน่วยการซื้อขาย (board lot) เป็นต้น

3. ไม่อนุญาตให้ส่งคำสั่ง Overnight Order สำหรับการซื้อขายหน่วยย่อย (Odd Lot)

4. กรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดมาตรการให้ซื้อหลักทรัพย์ด้วยการวางเงินสดล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนซื้อ (หรือซื้อด้วยบัญชี Cash Balance) อันเนื่องจากมาตรการกำกับการซื้อขาย หรือเนื่องจากการขึ้นเครื่องหมาย C (Caution) เป็นต้น บริษัทสมาชิกต้องกำกับดูแลและดำเนินการให้คำสั่ง Overnight Order ที่ยังไม่ถูกจับคู่ เป็นไปตามมาตรการดังกล่าวเช่นกัน

สัญลักษณ์สิทธิประโยชน์ (เครื่องหมาย X ต่างๆ)

(XB) Excluding Other Benefit : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิในบางกรณี

(XD) Excluding Dividend : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล

(XE) Excluding Exercise : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง

(XM) Excluding Meetings : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น

(XN) Excluding Capital Return : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่มีสิทธิในการรับเงินคืนจากการลดทุน

(XR) Excluding Right : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่

(XT) Excluding Transferable Subscription Right : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้

(XW) Excluding Warrant : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์

เมื่อส่งคำสั่งซื้อขายเข้าระบบและสถานะของคำสั่งแสดงผลเป็น Rejected คำสั่งซื้อขายนั้นถูกส่งเข้าระบบหรือไม่ ?

คำสั่งของท่านไม่ถูกส่งเข้าระบบ และ Rejected Code นั้นๆท่านสามารถตรวจสอบได้ที่ หน้าจอ Streaming Pro ในเมนู setting ที่หัวข้อ Reject Code