บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
TH

คำถามที่พบบ่อย


ขั้นตอนการเปิดบัญชี เริ่มต้นใช้งาน การเข้าสู่ระบบ เริ่มต้นซื้อขาย การตั้งค่าต่างๆ สำหรับใช้งาน โปรแกรมซื้อขาย Mobile Trading Krungsri Securities iFUND Settrade Streaming Stock Expert eFin Trade Plus efin StockPickUp Krungsri Securities SBL Realtime การซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ วิธีปฏิบัติเมื่อโปรแกรมซื้อขายขัดข้อง การฝาก/ถอนเงิน วิธีการฝากเงิน วิธีการถอนเงิน Online Direct Debit Bill payment ผ่าน KMA Bill payment ผ่านธนาคารอื่นๆ เลขบัญชีชำระค่าหุ้นและค่าธรรมเนียม แจ้งฝากหลักประกัน วิธีการสมัคร ATS ขั้นตอนการแจ้งผลการสมัคร ATS การโอนเงินระหว่างบัญชี วิธีการโอนหุ้น ค่าธรรมเนียมต่างๆ อัตราดอกเบี้ย เครดิตบาลานซ์ การขายชอร์ต เกี่ยวกับเงินปันผล ข้อมูลการซื้อ/ขาย วิธีการคำนวณต่างๆ การทบทวนข้อมูล KYC และ Suitability Test

ข้อมูลการซื้อ/ขาย การเพิ่มวงเงิน การโอนหุ้น วิธีการคำนวณต่างๆ

วิธีการคำนวณต้นทุนหุ้น

“การซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตนั้นในตอนตั้งต้นระบบในตอนเช้าจะนำค่าต้นทุนที่ได้จากการคำนวณด้วยวิธี FIFO
แสดงในค่า Average Cost และในระหว่างวันจะหากมีการซื้อขายจะใช้วิธีการคำนวณต้นทุนและกำไรขาดทุน
โดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average Cost) และแสดงในค่า Average Price”

ตัวอย่างการคำนวณต้นทุนหุ้น โดยใช้วิธี FIFO และ วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยไม่รวม commission และ vat มีดังนี้

วันที่ 1 ซื้อหุ้น ABCD จำนวน 200 หุ้น ที่ราคา 10 บาท= 2,000
  ซื้อหุ้น ABCD จำนวน 300 หุ้น ที่ราคา 20 บาท= 6,000
  ขายหุ้น ABCD จำนวน 100 หุ้น ที่ราคา 10 บาท

วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก :วิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนของการได้มาถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวนหน่วยที่ได้มาในแต่ละครั้ง

Order ต้นทุนในพอร์ต วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
ต้นทุนขาย มูลค่าคงเหลือ ต้นทุนใหม่ในพอร์ต กำไร/ขาดทุน
ซื้อ 200 @10 บาท (2,000)/200=10        
ซื้อ 300 @20 บาท (2,000+6,000)/500=16        
ขาย 100 @10 บาท   16*100=1,600 8,000-1,600 =6,400 6,400/400=16 (10-16) *100=-600


วิธี FIFO : หุ้นที่ซื้อเข้ามาก่อนจะถูกขายออกไปก่อน

Order ต้นทุนในพอร์ต วิธี FIFO (แสดงต้นทุนในพอร์ตต้นวันเท่านั้น)
ต้นทุนขาย มูลค่าคงเหลือ ต้นทุนใหม่ในพอร์ต กำไร/ขาดทุน
ซื้อ 200 @10 บาท (2,000)/200=10        
ซื้อ 300 @20 บาท (2,000+6,000)/500=16        
ขาย 100 @10 บาท   10*100=1,000 (100*10+(300*20)=7,000 7,000/400=17.5

สรุป จะเห็นว่าการคำนวณวิธี FIFO ใน order ที่ 3 นั้น ราคาทุนหุ้นที่ขายไปจะใช้ราคาของ Order แรกที่ซื้อเข้ามาคือ
ที่ราคา 10 บาท ไม่ใช่ 16 บาทซึ่งเป็นต้นทุนก่อนขาย

วิธีคำนวณคอมมิชชั่นและภาษีมูลค่าเพิ่ม

Case 1: ซื้อหุ้น ABCD 2,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 30 บาท ส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ค่าคอมมิชชั่น 0.15%
มูลค่าซื้อขาย 30*2,000 = 60,000 บาท
ค่าคอมมิชชั่น 60,000 X 0.15% = 90 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) 90 X 7 % = 6.30 บาท
ค่าคอมมิชชั่นรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 90 + 6.30 = 96.30 บาท
ดังนั้นมูลค่าซื้อขายรวมคอมมิชชั่นและภาษีมูลค่าเพิ่ม 60,000+96.30 = 60,096.30
 
Case 2: ซื้อหุ้น ABCD 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 30 บาท ส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ค่าคอมมิชชั่น 0.15%
มูลค่าซื้อขาย 30*1,000 = 30,000 บาท
ค่าคอมมิชชั่น 30,000 X 0.15% = 45 บาท
***เนื่องจากค่าคอมมิชชั่นไม่ถึง 50 บาท บริษัทฯ จะคิดค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำเท่ากับ 50 บาท***
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) 50 X 7 % = 3.50 บาท
ค่าคอมมิชชั่นรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 50 + 3.50 = 53.50 บาท
ดังนั้นมูลค่าซื้อขายรวมคอมมิชชั่นและภาษีมูลค่าเพิ่ม 30,000+53.50 = 30,053.50

*** หากในวันที่ท่านมีการซื้อขายและมีค่าคอมมิชชั่นไม่ถึง 50 บาท บริษัทฯจะเก็บค่าคอมมิชชั่นเท่ากับ 50 บาท หากมากกว่า 50 บาท บริษัทจะคิดค่าคอมมิชชั่นตามปกติ
 
Case 3: ซื้อหุ้น ABCD 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 30 บาท ส่งคำสั่งซื้อผ่านเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาการลงทุน
ค่าคอมมิชชั่น 0.25%
มูลค่าซื้อขาย = 30*1,000 = 30,000 บาท
ค่าคอมมิชชั่น 30,000 X 0.25% = 75 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) 75 X 7 % = 5.25 บาท
ค่าคอมมิชชั่นรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 75 + 5.25 = 80.25 บาท
ดังนั้นมูลค่าซื้อขายรวมคอมมิชชั่นและภาษีมูลค่าเพิ่ม 30,000+80.25 = 30,080.25
 

หมายเหตุ: อัตราดังกล่าวข้างต้นไม่รวมค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ (Trading Fee: 0.005%), ค่าธรรมเนียมการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Clearing Fee: 0.001%) และค่าธรรมเนียมการกํากับดูแล (Regulatory Fee: 0.0010%)

ทำไมบัญชี Cash Account ต้องวางเงินหลักประกัน 20%

ตลาดหลักทรัพย์ กำหนดให้เพิ่มอัตราการวางหลักประกันเป็น 20% ของวงเงินที่จะซื้อหลักทรัพย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของระบบชำระราคาและอุตสาหกรรมโดยรวม และสร้างความมั่นคงให้ระบบการซื้อขายมากขึ้น
เช่น วงเงิน 100,000 บาท จะต้องฝากเงินเป็นหลักประกัน 20,000 บาท

การส่งคำสั่งซื้อขายของวันรุ่งขึ้น ( Overnight Order) สามารถตั้งได้หรือไม่ ?

ลูกค้าที่มีบัญชีซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตสามารถส่งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 16.45 น. เป็นต้นไป

รูปแบบการส่งคำสั่งราคา (Limit, ATO, ATC, MP-MKT, MP-MTL)

Limit : ใช้ส่งคำสั่งแบบระบุราคาที่ต้องการเอง

ATO (At the Open) : ใช้เมื่อต้องการซื้อหรือขายทันทีเมื่อตลาดเปิดการซื้อขาย ณ ราคาเปิด โดยสามารถส่งคำสั่งได้เฉพาะช่วงก่อนเปิดตลาดทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย (Pre-Open)

ATC (At the Close) : ใช้เมื่อต้องการซื้อหรือขายทันทีเมื่อตลาดปิดการซื้อขาย ณ ราคาปิด โดยสามารถส่งคำสั่งได้เฉพาะช่วงก่อนปิดตลาดเท่านั้น (Pre Close)

MP-MKT (Market to Limit Order) : ใช้เมื่อต้องการซื้อหรือขายให้ได้ที่ราคา Best Bid / Best Offer ราคาเดียวเท่านั้น (ราคาด้านบนสุดของแถว) และถ้าจับคู่ไม่หมด ระบบจะนำจำนวนหุ้นที่เหลือไปตั้งรอที่ราคา Last

MP-MTL (Market Order) : ใช้เมื่อต้องการซื้อหรือขายให้ได้ทันที ด้วยราคาเท่าไหร่ก็ได้ โดยคำสั่งเราจะไปจับคู่กับราคาด้านตรงข้ามทุกระดับราคา และถ้าจับคู่จนไม่มี Bid/Offer ด้านตรงข้ามเหลือแล้ว ระบบจะยกเลิกส่วนที่เหลือให้

คำสั่งซื้อขายประเภทที่มีอายุข้ามวัน (GTC, GTD)

Good till Cancel (GTC): คำสั่งจะอยู่ในระบบซื้อขาย จนกว่าจะถูกยกเลิก

Good till Date (GTD): คำสั่งจะอยู่ในระบบซื้อขาย จนถึงวันที่กำหนด หรือจนกว่าจะถูกยกเลิก


โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดังนี้

1. คำสั่งจะถูกจัดเก็บในระบบสูงสุดไม่เกิน 30 วันปฏิทิน (วันที่ส่งคำสั่งนับเป็นวันที่ 1)

2. ระบบจะยกเลิกคำสั่ง Overnight Order ในกรณีดังนี้
- ราคาที่ระบุในคำสั่ง อยู่นอกกรอบราคา Ceiling & Floor ประจำวัน
- วันแรกที่หลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมายแสดงว่าราคาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นราคาที่ไม่รวมสิทธิประโยชน์* เช่น การจ่ายเงินปันผล (XD) การให้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (XR) การให้สิทธิในการได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิ (XW) และ การจ่ายเงินคืนทุน (XN) เป็นต้น (โดยจะพบเครื่องหมาย L ต่อจากเครื่องหมายสิทธิประโยชน์บน Streaming เช่น (XD,L) เป็นต้น )
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักทรัพย์ ตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดเช่น การเปลี่ยนพาร์ (Split Par) การเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ และการเปลี่ยนแปลงหน่วยการซื้อขาย (board lot) เป็นต้น

3. ไม่อนุญาตให้ส่งคำสั่ง Overnight Order สำหรับการซื้อขายหน่วยย่อย (Odd Lot)

4. กรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดมาตรการให้ซื้อหลักทรัพย์ด้วยการวางเงินสดล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนซื้อ (หรือซื้อด้วยบัญชี Cash Balance) อันเนื่องจากมาตรการกำกับการซื้อขาย หรือเนื่องจากการขึ้นเครื่องหมาย C (Caution) เป็นต้น บริษัทสมาชิกต้องกำกับดูแลและดำเนินการให้คำสั่ง Overnight Order ที่ยังไม่ถูกจับคู่ เป็นไปตามมาตรการดังกล่าวเช่นกัน

สัญลักษณ์สิทธิประโยชน์ (เครื่องหมาย X ต่างๆ)

(XB) Excluding Other Benefit : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิในบางกรณี

(XD) Excluding Dividend : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล

(XE) Excluding Exercise : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง

(XM) Excluding Meetings : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น

(XN) Excluding Capital Return : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่มีสิทธิในการรับเงินคืนจากการลดทุน

(XR) Excluding Right : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่

(XT) Excluding Transferable Subscription Right : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้

(XW) Excluding Warrant : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์

(X) Delisted Stock : หุ้นที่จะถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ โดยจะแสดงสัญลักษณ์ X ให้เห็นในวันทำการซื้อขายวันสุดท้ายของหุ้นตัวนั้นๆ

เมื่อส่งคำสั่งซื้อขายเข้าระบบและสถานะของคำสั่งแสดงผลเป็น Rejected คำสั่งซื้อขายนั้นถูกส่งเข้าระบบหรือไม่ ?

คำสั่งของท่านไม่ถูกส่งเข้าระบบ และ Rejected Code นั้นๆท่านสามารถตรวจสอบได้ที่ หน้าจอ Streaming Pro ในเมนู setting ที่หัวข้อ Reject Code