ผันผวนชวนเล่นสั้น - 4 พฤศจิกายน 2022
(04/11/2022 - 08:00)

ตลาดหุ้นวานนี้

SET Index +0.60 จุด ปิดที่ระดับ 1,626 จุด กังวล ศก. ชะลอตัวหลังเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อจนกว่าเงินเฟ้อจะลดลง

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

ประเมิน SET แกว่งตัว 1,615 - 1,635 จุด แม้ Fund flow ต่างชาติที่ไหลเข้าต่อเนื่องและแรงซื้อดักงบ Q3/22 จะยังคงเป็นแรงหนุนทิศทางดัชนี อย่างไรก็ตามความกังวล FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ทรงตัวระดับสูง รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงจะกดดันให้ดัชนีผันผวน

** วันนี้ติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค.ของสหรัฐ คาดเพิ่มขึ้น 205,000 ตำแหน่ง

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • หุ้นที่คาด 3Q22 เติบโต BDMS BH CPF GFPT BANPU EPG BEM BTS WHA
  • AOT CENTEL ERW BA AAV SPA SISB AU CPN CRC CPALL อานิสงส์การเปิดประเทศและคาดงบ 3Q22 เติบโต
  • KBANK SCB BBL TTB KTB อานิสงส์ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น

หุ้นแนะนำวันนี้

  • SCB (108155 ราคาหุ้น Laggard มากที่สุดของ 4 แบงก์ใหญ่ โดย YTD ราคาหุ้น BBL+20% ขณะที่ SCB-15% ขณะที่ปีหน้าคาด SCB จะมีอัตราการเติบโตของกำไรมากที่สุดของกลุ่ม
  • GFPT (ปิด 14.80 ซื้อ/เป้า 18.50 บาท) คาดงบ 3Q22 พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เบื้องต้นคาดมีกำไรสุทธิ 570 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 26%qoq เทียบกับ 3Q21 ขาดทุนสุทธิ 87 ล้านบาท

บทวิเคราะห์วันนี้

ADVANC, BBL, LPN, NRF

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) ดาวโจนส์ลดลง 4 วันติด กังวล ศก. ชะลอตัวหลังเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย: ดาวโจนส์ลดลงอีก 147 จุด (-0.46%) ปิดที่ 32,001 จุด นักลงทุนกลับมากังวลกับแนวโน้ม ศก. ชะลอตัวอีกครั้งหลังจากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% และส่งสัญญาณจะขึ้นดอกเบี้ยนานกว่าที่ตลาดคาดกันไว้
  • (+/-) คืนนี้ติดตามตัวเลข Nonfarm payrolls และอัตราการว่างงานของสหรัฐ: เบื้องต้น Consensus คาดตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้น 2 แสนตำแหน่ง  และมีอัตราการว่างงานที่ 3.6% ตลาดจะตีความเป็นลบหากการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 แสนตำแหน่งและอัตราการว่างงานลดลงต่ำกว่าระดับ 3.5% เพราะจะหนุนให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย
  • (+/-) สัปดาห์หน้ามี US Midterm Election และเงินเฟ้อของสหรัฐ: โดยเฉพาะการเลือกตั้งของสหรัฐยังมีความไม่แน่นอนโอกาสที่พรรคเดโมแครตแพ้ยังมีส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐและการผ่านนโยบายที่จะยากลำบากมากขึ้นอาจจะกลายเป็นปัจจัยลบกดดันตลาดในช่วงต้นสัปดาห์