ทนไว้
(24/05/2022 - 07:45)

ธนาคารกลางทั่วโลกพยายามป้องกันเงินเฟ้อโดยปรับดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น ผลกระทบของการปรับดอกเบี้ยนโยบายคือ ความกังวลความเสียหายต่อเศรษฐกิจและทำให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลงทั่วโลก ดัชนี MSCI world ปรับตัวลงกว่า 17.6% ตังแต่ต้นปี จนถึงตอนนี้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจชี้ว่า เศรษฐกิจยังห่างไกลจากภาวะถดถอยแต่ก็มีความเปราะบางสูงขึ้น ขณะที่มีสัญญาณบ่งชี้มากขึ้นว่าเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว ซึ่งจะหนุนราคาหุ้นในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ อย่างไรก็ตามยังมีดาวน์ไซด์อยู่ในแง่นักลงทุนระยะสั้นเนื่องจาก ตลาดมีแนวโน้มปรับคาดการณ์กำไรและมีหุ้นจำนวนมากที่ราคาแพงแล้ว

 

โอกาสเกิดตลาดหมียังจำกัด

Fed ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าต้องการลดเงินเฟ้อส่วนเกินด้วยเครื่องมือที่ Fed มีอยู่ Powell ได้กล่าวในงานแถลงข่าวล่าสุดว่า คณะกรรมการ Fed อาจให้ดอกเบี้ยนโยบายขึ้นถึงระดับตึงตัว (restrictive level) หากมีความจำเป็น แต่ไม่มีการระบุระดับตึงตัวที่ชัดเจนซึ่งจะเป็นระดับที่สูงกว่าระดับเป็นกลาง (neutral rate) ของ Fed ที่ 2.5-3% อาจมองว่าเป็นระดับตึงตัว โดย Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย 50bp ในการประชุมสองครั้งถัดไป (และขึ้น 25bp อีก 3 ครั้งที่เหลือของปี) จะทำให้เป้าหมาย fed funds rate อาจไปอยู่ใกล้ระดับดังกล่าวภายในสิ้นปี ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงใกล้ระดับตลาดหมี (ปรับตัวลง 20%) จึงไม่ประหลาดใจว่านักลงทุนเริ่มกังวลความเป็นไปได้ของภาวะเศรษฐกิจถดถอยและตลาดหมียืดเยื้อ แม้ตัวชี้วัดเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีโมเมนตัมที่ช้า แต่ยังสะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถผ่านวัฏจักรมาตรการการเงินเข้มงวดไปได้ เช่น ดัชนี LEI (Leading economic indicator) ที่ชะลอตัวลงอย่างมากแต่ยังอยู่ในระดับสูงซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงที่ต่ำมากของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ซึ่งหมายความว่าตลาดหุ้นมีแนวโน้มกลับมาบวกได้ในช่วงครึ่งหลังของปี กราฟด้านล่างของเราแสดง (Figure 3) จำนวนหุ้นที่อยู่สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย 200 วันกำลังเข้าสู่ระดับต่ำสุด นอกจากนี้ S&P อยู่ในระดับที่ไม่แพงที -1.6XSD (Figure 2) อย่างไรก็ตามความเสี่ยงหลัก คือ หาก Fed ไม่สามารถดึงเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายระยะยาวที่ 2% จะทำให้ความเสี่ยงดาวน์ไซด์ของการเติบโตเพิ่มขึ้น