กังวล FED เร่งขึ้นดอกเบี้ย - 14 มิถุนายน 2022
(14/06/2022 - 07:45)

ตลาดหุ้นวานนี้

SET ร่วง 33 จุด ปรับลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศกังวลเงินเฟ้อสหรัฐยังพุ่งสูงและเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ย ส่วนปัจจัยในประเทศมีข่าวเก็บภาษีหุ้น และ โรงกลั่นมีข่าวภาครัฐเตรียมเสนอปรับลดค่าการกลั่นหรือราคาหน้าโรงกลั่นเพื่อลดราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศเพื่อช่วยเหลือประชาชน

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

ประเมิน SET ปรับตัวลงแนวรับ 1,590 / 1,580 จุด ตามความกังวลเศรษฐกิจถดถอยจาก FED เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง โดย FedWatch Tool ให้น้ำหนักขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.75% ในการประชุม15 มิ.ย.และ 27 ก.ค. ซึ่งสะท้อนได้จาก US Bond yield 10 ปีพุ่งเหนือ 3.3% และเป็นแรงกดดันต่อภาวะการลงทุน จึงแนะนำรอซื้อช่วงอ่อนตัวแบบ Selective buy

วันที่ 14-15 มิ.ย. การประชุม FOMC คาด FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • TU ASIAN GFPT กลุ่มส่งออกได้อานิสงส์เงินบาทอ่อนค่า
  • BLA TIPH KBANK BBL SCB TTB  อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น 
  • AOT MINT CENTEL BDMS BH CPALL CPN  AMATA  อานิสงส์การเปิดประเทศ

หุ้นแนะนำวันนี้

  • ASIAN (ปิด 16.50 ซื้อ/เป้า 23 บาท) ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าล่าสุดแตะระดับ 34.9 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่ามากสุดในรอบกว่า 5 ปี แนวโน้มงบ 2Q22 ยังดีต่อเนื่อง ปลายปีเตรียม IPO บริษัทลูกในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (AAI) เข้าตลาดฯ
  • TIPH (ปิด 67.75 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 77.50 บาท) เก็งกำไรกลุ่มประกันได้ Sentiment บวกจากแนวโน้มของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหรัฐล่าสุดพุ่งแตะระดับ 3.37% สูงสุดในรอบ 10 ปี

บทวิเคราะห์วันนี้

SAT (ปิด 18.7 ซื้อ/เป้า 23), ENERGY sector

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) กังวลเฟดใช้ยาแรงขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เพื่อคุมเงินเฟ้อ: ตลาดเริ่มมีความวิตกกังวลมากขึ้นว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมที่จะมีขึ้นในช่วงวันที่ 14-15 มิ.ย.นี้ หลังจากที่การปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาไม่เพียงพอที่จะกดให้อัตราเงินเฟ้อลดลงได้ ล่าสุด CME Group คาดความน่าจะเป็นที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สูงขึ้นเป็น 95% จากเดิม 5%
  • (-) Inverted Yield Curve สัญญาณเตือนวิกฤติเศรษฐกิจ: อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐกลับมาเกิดภาวะ Inverted Yield Curve ขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปี กับ 2 ปี ให้ผลออกมาเป็นลบถือเป็นความผิดปกติที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย และในอดีตหากเกิดภาวะ Inverted yield Curve มักเกิดวิกฤติ ศก. ตามมาเฉลี่ยประมาณ 18 เดือนให้หลัง
  • (+/-) เงินบาทอ่อนค่ามากสุดในรอบ 5 ปี กดดัน Fund flow ต่างชาติยังไหลออก: ล่าสุดค่าเงินบาทอ่อนค่าสู่ระดับ 34.92 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่ามากสุดในรอบ 5 ปี เป็นบวกกับหุ้นกลุ่มส่งออก ท่องเที่ยวและกลุ่มโรงพยาบาล แต่เป็นลบกับหุ้นที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ รวมไปถึงหุ้นที่มีหนี้เป็น US dollar สูง อาทิ กลุ่มปตท. และกลุ่มโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณลบต่อ Fund flow ไหลออก