หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของบัญชี Credit Balance Internet

การซื้อขายผ่านบัญชี Credit Balance จะมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่แตกต่างจากบัญชีเงินสด ดังนั้นขอให้ท่านนักลงทุนทำการศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้เข้าใจก่อนเริ่มทำการซื้อขายด้วย เนื่องจากบัญชี Credit balance จะเป็นการกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์และ/หรือยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ตได้ ดังนั้นนักลงทุนจะมีสิทธิและหน้าที่ที่แตกต่างจากบัญชีเงินสด


ลูกค้าที่ต้องการเพิ่มอำนาจซื้อหลักทรัพย์หรือยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชีเครดิต บาลานซ์จะต้องฝากเงินสดหรือนำหลักทรัพย์ตามประกาศรายชื่อที่กำหนดพร้อมดำเนินการจดแจ้งจำนำหลักทรัพย์ให้เสร็จสิ้นก่อน ระบบจึงจะคำนวณสร้างอำนาจซื้อหลักทรัพย์(Purchasing Power) หรืออำนาจในการขายชอร์ต(Short selling power) ตามสูตรในการคำนวนดังนี้

       
 

Purchasing Power

=

Excess Equity / Initial margin required

 

Excess Equity

=

Customer’s Net Equity – Margin required

 

Customer’s Equity

=

Customer’s asset - Debt

 

Customer’s asset

=

Cash balance + Long Market Value

 

Debt

=

Margin loan + Short Market Value

 

Margin required

=

Long market Value * initial margin required

       


คำอธิบาย

  1. Customers’ asset หมายถึง ทรัพย์สินของลูกค้าในบัญชี Credit Balance ประกอบด้วย
    • Cash balance คือ เงินสดที่ลูกค้าวางไว้ในบัญชีเครดิต บาลานซ์ (Cash balance)
    • Long Market Value (LMV) คือ มูลค่าหลักทรัพย์ที่ลูกค้าซื้อและวางเป็นประกันการชำระหนี้และหลักทรัพย์ที่ลูกค้านำมาวางเป็นประกันเพิ่มในบัญชี Credit Balance ซึ่งต้องเป็นหลักทรัพย์ตามประกาศ รายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสำหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชี Credit Balance (Marginable securities list)
  2. Customer’s liabilities หมายถึง หนี้สินของลูกค้าในบัญชี Credit Balance ประกอบด้วย
    • Margin Loan คือ จำนวนเงินที่ลูกค้ากู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ในบัญชี Credit Balance
    • Short Market Value(SMV) คือ  มูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ที่ลูกค้ายืมมาจากบริษัทฯและขายชอร์ตไปในบัญชี Credit Balance แล้ว แต่ยังไม่ได้ทำการซื้อคืน
  3. Customer’s Equity หมายถึง ทรัพย์สินสุทธิของลูกค้าทั้งหมดในบัญชี Credit Balance ซึ่งคำนวณได้จากสูตรดังนี้
    • Customer’s asset – Customer’s liabilities
    • (Cash balance + SMV) – (margin loan +SMV)  
  4. Margin Required) คือ ผลรวมของ(มูลค่าหลักประกันหรือหลักทรัพย์ที่ลูกค้ายืมแต่ละรายการ คูณกับ อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นของหลักประกันหรือหลักทรัพย์ที่ลูกค้ายืมรายการนั้น)
  5. Excess Equity คือ ทรัพย์สินสุทธิส่วนเกินของลูกค้าในบัญชี Credit Balance ซึ่งนำไปใช้คำนวณอำนาจซื้อ(purchasing power ) ให้กับลูกค้า ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้
    • Customer’s Equity - Margin Required
  6. Purchasing power / Short selling power คือ อำนาจในการซื้อ หรือ อำนาจในการขายชอร์ตที่ลูกค้าสามารถมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตร
    • Excess equity  (ทรัพย์สินสุทธิส่วนเกินของลูกค้า)/ Initial margin rate of securities to buy (อัตรามาร์จิ้นเริ้มต้นของหลักทรัพย์ที่จะซื้อ)
  7. Initial Margin (IM) คือ อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นของแต่ละหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชี Credit balance ซึ่งเป็นอัตราที่กำหนดว่า ลูกค้าต้องวางหลักประกันในสัดส่วนเท่าใดของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ต้องการจะซื้อ หรือ ขายชอร์ต ยกตัวอย่างเช่น หาก IM ของหุ้น BLA เท่ากับ 50 หมายความว่า หากลูกค้าต้องการมีอำนาจซื้อหุ้น BLA ได้มูลค่า 1 ล้านบาท ลูกค้าต้องวางหลักประกันด้วยจำนวนขั้นต่ำที่ 50%ของมูลค่าที่ต้องการซื้อ คือ 5 แสนบาท ซึ่งลูกค้าอาจเลือกวางหลักประกันโดยวิธีการฝากเงินสดหรือนำหลักทรัพย์จดทะเบียนมาจดจำนำค้ำประกันก็ได้
  8. ปัจจุบัน รายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสำหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชี Credit Balance (Marginable Securities List)จะมีหลักทรัพย์ 3 กลุ่มคือ

กลุ่ม 1 กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นที่ 50%
กลุ่ม 2 กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นที่ 60%
กลุ่ม 3 กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นที่ 70%
กลุ่ม 4 กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นที่ 80%
กลุ่ม 5 กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นที่ 100%

ดังนั้น ตามข้อ 4 จะเห็นว่า อำนาจซื้อ (Purchasing Power) จะแปรผันตามหลักทรัพย์ที่ลูกค้าจะซื้อ
กรณีลูกค้าต้องการซื้อกลุ่ม 1 จะสามารถซื้อได้ 2 เท่าของทรัพย์สินสุทธิส่วนเกิน (Excess Equity)
แต่ หากลูกค้าต้องการซื้อกลุ่ม 3 จะสามารถซื้อได้ประมาณ 1.428 เท่าของทรัพย์สินสุทธิส่วนเกิน (Excess Equity)
แต่ หากลูกค้าต้องการซื้อกลุ่ม 5 จะสามารถซื้อได้ 1 เท่าของทรัพย์สินสุทธิส่วนเกิน (Excess Equity)

  1. เนื่องจากหลักประกันที่วางเป็นเงินจะไม่มีมาร์จิ้นที่ต้องการ (Margin Required) ดังนั้นการวางหลักประกันด้วยเงินจะสร้างอำนาจซื้อได้มากกว่าการวางหลักประกันด้วยหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเท่ากัน และการวางหลักประกันด้วยหลักทรัพย์กลุ่ม 1 จะสร้างอำนาจซื้อได้มากกว่า กลุ่ม 2 เพราะ มีอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นต่ำกว่า
  2. เนื่องจากลูกค้าสามารถซื้อได้มากกว่าทรัพย์สินที่มีดังนั้นลูกค้า จะต้องรักษาสถานภาพของบัญชี ตามเกณฑ์ของการดำรงหลักประกันที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้

a. หาก สถานภาพของบัญชี มีอัตรา Maintenance margin น้อยกว่า 35% หรือ 40% (กรณีเป็นการขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืม) ลูกค้าจะต้องวางหลักประกันเพิ่มภายใน 5 วันทำการนับจากวันที่ถูกเรียกโดยบริษัทจะมีการแจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษร หากลูกค้าไม่ดำเนินการวางหลักประกันเพิ่มและสถานภาพยังคงมีอัตรา Maintenance Margin ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ ณ วันครบกำหนด จะถูกบังคับขาย หรือ บังคับซื้อคืน ทันที (กรณีเป็นการขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืม) ในวันทำการถัดไป กล่าวอีกนัยหนึ่งคือหากลูกค้ามีผลขาดทุนจากการซื้อหลักทรัพย์ราว 25% หรือ มีผลขาดทุนจากการขายชอร์ตราว 8% จะต้องวางหลักประกันเพิ่ม

b. หาก สถานภาพของบัญชี มีอัตรา Maintenance margin เท่ากับหรือน้อยกว่า 25% หรือ 30 % (กรณีเป็นการขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืม) ลูกค้าจะต้องวางหลักประกันเพิ่มภายในวันทำการที่ได้รับแจ้งทันที มิฉะนั้นจะถูกบังคับขาย หรือ บังคับซื้อคืน (กรณีเป็นการขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืม) ในวันนั้นทันทีเช่นกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือหากลูกค้ามีผลขาดทุนจากการซื้อหลักทรัพย์ราว 35% หรือ มีผลขาดทุนจากการขายชอร์ตราว 15% จะถูกบังคับขายหรือถูกบังคับซื้อคืนฯ

การซื้อหลักทรัพย์ผ่านบัญชี Credit Balance

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
  1. ลูกค้าสามารถซื้อหลักทรัพย์ตามประกาศรายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสำหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่
    บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชี Credit Balanceได้ตามอำนาจซื้อ (Purchasing Power)
  2. ลูกค้าสามารถซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่อยู่ในประกาศรายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสำหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชี Credit Balance ได้ตาม Cash Balance เท่านั้น คือไม่สามารถกู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ (โดยหากเป็นการซื้อจาก Cash Balance ที่ได้จากการขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมฯ จะทำให้สถานภาพของบัญชีลูกค้าตกต่ำลงจนอาจถูกเรียกให้วางหลักประกันเพิ่มหรือถูกบังคับขายหรือซื้อคืนหลักทรัพย์ที่ขายชอร์ตได้)

การขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชี Credit Balance


หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

  1. ลูกค้าสามารถขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในบัญชีแล้วเท่านั้น
  2. ลูกค้าที่ต้องการขายชอร์ตจะต้องยืมหุ้นและมีหุ้นที่ยืมฝากอยู่ในบัญชีแล้วเท่านั้น

การถอนเงินจากบัญชี Credit Balance

ลูกค้าที่ต้องการถอนเงินจากบัญชี Credit Balance ที่ฝากกับบริษัทฯจะต้องดำเนินการดังนี้

  1. แจ้งความประสงค์โดยกรอกรายละเอียดใน Request Form - คำสั่งถอนเงิน
  2. ลูกค้าสามารถถอนเงินได้สูงสุดตาม Excess Equity (ทรัพย์สินส่วนเกิน) ที่ปรากฎ ณ สิ้นวันทำการก่อนวันที่ทำรายการ และเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กลต. กำหนด
  3. กรุณาแจ้งให้บริษัทฯ ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันทำการก่อน 11.30 น. หากพ้นกำหนดนี้ถือเป็นการแจ้งวันถัดไป ยกตัวอย่างเช่น แจ้งในวันที่ 1/2/2006 เวลา 10.00 น.ตามปกติจะได้รับเงินวันที่ 2/2/2006 แต่ถ้าแจ้งเวลา 12.00 น. จะได้รับเงินวันที่ 3/2/2017 อย่างไรก็ตามในกรณีที่ท่านขายหลักทรัพย์ที่จดแจ้งจำนำเป็นหลักประกันและ/หรือหลักทรัพย์ที่ฝากขายในบัญชี Credit Balance ท่านอาจจะได้รับเงินในอีก 2-3 วันทำการถัดไป ทั้งนี้ เป็นไปตามเกณฑ์ที่ กลต. กำหนด
  4. บริษัทฯ จะดำเนินการโอนเงินหรือส่งมอบเช็คให้ท่านตามเงื่อนไขการรับเงินที่ลูกค้าได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ เท่านั้น ซึ่งได้แก่การโอนเงินเข้าบัญชีตามที่ระบุกับบริษัทฯ หรือ เข้าบัญชีประเภทอื่นที่มีกับบริษัทฯ หรือ จ่ายชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ในบัญชีเงินสด
    หากสถานะของบัญชีท่านมีไม่เพียงพอกับเงินที่ขอถอนบริษัทจะจ่ายเงินให้ท่านมากที่สุดเท่าที่สถานะของบัญชีท่านจะถอนได้หรือท่านอาจจะได้รับเงินล่าช้าไปตามที่กล่าวในข้อ 3

เกณฑ์ในการพิจารณาจำนวนเงินที่ลูกค้าสามารถถอนได้

  1. ลูกค้าลูกค้าสามารถถอนเงินจากบัญชี Credit Balance ได้สูงสุดเท่ากับทรัพย์สินสุทธิส่วนเกิน (Excess Equity) แต่จะต้องเป็นทรัพย์สินส่วนเกินที่ได้จาก

• เงินที่ลูกค้านำมาวางเป็นหลักประกัน (Cash Balance)
• มูลค่าที่เพิ่มขึ้นของหลักทรัพย์ที่ซื้อในบัญชี Credit Balance

  1. กรณีที่ลูกค้าถอนเงินเกินกว่ายอดคงเหลือ Cash Balance ที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น จะถือเป็นการกู้ยืมเงินจากบริษัทฯ ดังนั้น บันทึกส่วนที่เกินดังกล่าวเป็นการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Loan) ซึ่งลูกค้าต้องมีภาระเสียดอกเบี้ย
  2. บริษัทฯอาจมีการสำรองกันเงินของลูกค้าสำหรับดอกเบี้ยจ่ายและค่าธรรมเนียมยืมหุ้นออกจากทรัพย์สินส่วนเกินก่อนอนุญาตให้ถอนก็ได้

ดังนั้นขอให้พึงสังเกตุว่า

  • Excess Equity ที่เป็นผลมาจากหลักทรัพย์ที่จดจำนำเพื่อวางเป็นหลักประกันในบัญชี Credit Balance ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ แต่คำนวณเป็น Purchasing Power เพื่อใช้ในการซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเท่านั้น
  • Excess Equity ที่มีค่าขายหลักทรัพย์จดจำนำหรือค่าขายหลักทรัพย์ฝากขายรวมอยู่ด้วย ลูกค้าจะถอนเงินค่าขายหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ในวันที่ครบกำหนดรับชำระเงินค่าขายแล้วเท่านั้น (T+2)
    สรุปการคำนวณหาทรัพย์สินส่วนเกินสุทธิ (Net Excess Equity) ที่ลูกค้าสามารถถอนเงินได้ :

ทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้า (Excess Equity) ณ วันที่ก่อนวันที่ทำรายการถอนเงิน( T-1)

xxxxx

หัก

มูลค่าทรัพย์สินส่วนเกินของหุ้นจำนำ

xxxx

ค่าขายหุ้นจำนำ / ฝากขาย ที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ

xxxx

ดอกเบี้ยพึงรับจากลูกค้า

xxx

ค่าธรรมเนียมการยืมหลักทรัพย์

xxx

xxxxx

คงเหลือทรัพย์สินส่วนเกินสุทธิที่สามารถถอนเงินได้

xxxxx

การฝากเงินเข้าบัญชี Credit Balance Internet โดยแจ้งให้บริษัทฯตัดเงินจากบัญชีธนาคารของท่านผ่านระบบ ATS

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

  1. แจ้งความประสงค์โดยกรอกรายละเอียดใน Request Form – แบบฟอร์มแจ้งการนำเงินเข้าฝากบัญชีธนาคารของบริษัทฯ
  2. กรุณาแจ้งให้บริษัทฯ ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันทำการ ก่อน 11.00 น. หากพ้นกำหนดนี้ถือเป็นการแจ้งของวันถัดไป
  3. ท่านสามารถใช้อำนาจซื้อได้ในวันทำการถัดไป
    ยกตัวอย่างเช่น ท่านส่งคำสั่งถอนเงินในวันที่ 1/2/2017 เวลา 10.00 น. บริษัทฯจะตัดบัญชีท่านในวันที่ 1/2/2017 และหากบริษัทฯสามารถตัดบัญชีได้ ท่านจะสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้ในวันที่ 2/2/2017 แต่ถ้าแจ้งเวลา 12.00 น. ของวันที่ 1/2/2017 ท่านจะสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้ในวันที่ 3/2/2017

การถอนหุ้นจากบัญชี Credit Balance

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

  1. การถอนหุ้นจากบัญชี Credit Balance ลูกค้าสามารถถอนหุ้นได้มูลค่าสูงสุดไม่เกิน Excess Equity (ทรัพย์สินส่วนเกิน) ที่ปรากฎ ณ สิ้นวันทำการก่อนวันที่ทำรายการ (T-1) (โปรดดูคำนิยามของ Excess Equity ที่หน้า 1 )
  2. ลูกค้าที่ประสงค์จะทำการถอนหุ้นต้องแจ้งให้บริษัทฯทราบโดยกรอกรายละเอียดใน Request Form – คำสั่งโอนหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้ถอนเพื่อโอนไปยังบัญชีอื่นของลูกค้าเองที่เปิดกับบริษัทฯเท่านั้น
  3. หากลูกค้าประสงค์ที่จะถอนหุ้นที่มีมูลค่าเกินจาก Excess Equity ที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น ลูกค้าจะต้องชำระเงินตามมูลค่าของ Excess Equity ที่ยังขาดอยู่ จึงจะสามารถถอนหุ้นดังกล่าวออกไปได้ กรณีสถานะของบัญชีท่านมีไม่เพียงพอกับหุ้นที่ขอถอน บริษัทฯจะโอนหุ้นให้ท่านมากที่สุดเท่าที่สถานะของบัญชีท่านจะถอนได้ คำสั่งโอนหลักทรัพย์ ที่มีการดำเนินการไปแล้วแม้จะเป็นจำนวนน้อยกว่าที่ท่านแจ้งความประสงค์ ส่วนที่เหลือลูกค้าจะต้องแจ้งทำรายการใน Request Form – คำสั่งโอนหลักทรัพย์อีกครั้งหนึ่ง หากท่านความประสงค์ที่จะขอถอนอีก (บริษัทฯ จะไม่ดำเนินการต่อจากใบแจ้งฉบับเดิม)
  4. การถอนหุ้นที่ไม่ถือเป็นหลักประกันได้แก่หลักทรัพย์ที่ ลูกค้าฝากเพื่อขายหรือหลักทรัพย์ที่ไม่อยู่ในรายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสำหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชี Credit Balance (Non-Marginable Securities) ลูกค้าสามารถถอนได้หาก สถานะของบัญชี ณ ขณะนั้นไม่ถูกเรียกให้วางหลักประกันเพิ่ม (Call Margin) โดยจะไม่มีการพิจารณาถึง Excess equity เหมือนกับกรณีถอนหลักทรัพย์ตามที่กล่าวข้างต้น

การนำหลักทรัพย์จดทะเบียนมาวางเป็นหลักประกันในบัญชี Credit Balance

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

  1. หลักทรัพย์จดทะเบียนที่ลูกค้าสามารถนำมาวางเป็นหลักประกันในบัญชี Credit Balance ได้จะต้องเป็นหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ประกาศรับเป็นหลักประกันซึ่งปรากฎอยู่ในรายชื่อหลักทรัพย์และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นสำหรับแต่ละหลักทรัพย์ที่
    บริษัทฯ อนุญาตให้ลูกค้าซื้อและขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมในบัญชี Credit Balance (Marginable Securities List) โดยแจ้งความประสงค์ใน Request Form – แบบฟอร์มแจ้งจำนำหลักทรัพย์
  2. ลูกค้าต้องดำเนินการจดแจ้งจำนำหลักทรัพย์ที่ต้องการนำมาวางเป็นหลักประกันฯ ซึ่งบริษัทให้ลูกค้าแจ้งจดจำนำได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่ฝากอยู่ในบัญชีเงินสดของลูกค้าแล้วเท่านั้นโดยลูกค้าจะต้องทำการเปิดบัญชีจำนำหลักทรัพย์กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ และมีการเซ็นสัญญาจำนำหลักทรัพย์ซึ่งเป็นแบบฟอร์มของบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่มเติมจากแบบฟอร์มแจ้งจำนำหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ดังนั้น ขอให้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Krungsri Capital 0-2638-5500
  3. เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการจดแจ้งจำนำแล้ว ลูกค้าสามารถใช้อำนาจซื้อได้ในวันทำการถัดไป

การนำหลักทรัพย์จดทะเบียนมาฝากขายในบัญชี Credit Balance

  1. ลูกค้าสามารถนำหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในบัญชีเงินสด หรือโอนหลักทรัพย์จาก Broker อื่น มาฝากขายในบัญชี Credit Balance ได้ หากเป็นหลักทรัพย์ที่ซื้อในบัญชีเงินสดจะต้องชำระค่าซื้อเรียบร้อยแล้ว และบริษัทฯได้รับหลักทรัพย์จากศูนย์รับฝากฯเรียบร้อยแล้วเช่นกัน จึงจะโอนมาฝากขายในบัญชี Credit Balance ได้ โดยแจ้งความประสงค์ใน Request Form - แบบฟอร์มแจ้งการฝากหลักทรัพย์
  2. ลูกค้าสามารถขายหลักทรัพย์ที่โอนมาฝากขายได้ในวันทำการถัดจากวันที่บริษัทได้รับหลักทรัพย์ดังกล่าว
  3. การขายหลักทรัพย์ฝากขายจะเพิ่มอำนาจซื้อให้ลูกค้าทันทีที่มีการยืนยันการขายแล้ว (confirmed selling order)โดยเสมือนเป็นการฝากเงินเพิ่มด้วยมูลค่าขาย
  4. หากลูกค้าต้องการรับเงินค่าขายหลักทรัพย์ฝากขาย ลูกค้าจะต้องทำรายการถอนเงินตามที่ระบุในเรื่องการถอนเงิน

ดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องของบัญชี Credit Balance

ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยจาก Cash Balance ส่วนที่เกินกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ที่ขายชอร์ต แต่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยจาก Margin Loan โดยได้รับหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นรายเดือน (โดยจำนวนเงินที่จ่ายให้หรือเรียกเก็บจริงจะหักกลบกันระหว่างดอกเบี้ยรับกับดอกเบี้ยจ่าย) โดยบริษัทฯจะบันทึกดอกเบี้ยประจำเดือนเข้าบัญชี Credit Balance ของลูกค้า ดังนั้น Cash balance จะเพิ่มขึ้นในวันทำการแรกของเดือนถัดไป หากท่านมียอดดอกเบี้ยสุทธิประจำเดือนเป็นดอกเบี้ยรับและสถานะภาพล่าสุดของบัญชีเป็น Cash Balance แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสถานะภาพล่าสุดของบัญชีเป็น Credit Balance ดอกเบี้ยรับสุทธิดังกล่าวจะเป็นการลดภาระหนี้ (Margin Loan) แต่ถ้าหากดอกเบี้ยสุทธิประจำเดือนของลูกค้าเป็นดอกเบี้ยจ่ายและสถานะภาพล่าสุดเป็น Margin Loan ลูกค้าก็จะมีภาระหนี้ (Margin Loan) เพิ่มขึ้นในวันทำการแรกของเดือนถัดไป ในทำนองเดียวกลับกันถ้าสถานะภาพล่าสุดของบัญชีเป็น Cash Balance ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิดังกล่าวจะทำให้ Cash Balance ลดลง

อัตราดอกเบี้ยของ Cash Balance และ Margin Loan จะประกาศให้ทราบเป็นรายเดือนในวันทำการแรกของเดือน โดยอัตราดอกเบี้ยของ Cash Balanceจะมีผลในวันแรกของเดือนก่อนเดือนที่ประกาศส่วนของ Margin Loan จะมีผลในวันแรกของเดือนที่ประกาศ

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทฯ ประกาศอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 1 เมษายน 2560 โดยให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Cash Balance) เท่ากับ 2% ต่อปี และ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ฯ (Margin Loan) เท่ากับ 6% ต่อปี หมายความว่า ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยจาก Cash Balance ตั้งแต่ 1 – 31 มีนาคม 2560 ในอัตรา 2% ต่อปี และ เสียดอกเบี้ยจาก Margin Loan ตั้งแต่ 1 – 30 เมษายน 2560 ในอัตรา 6% ต่อปี

การซื้อหลักทรัพย์ของลูกค้า ยอดเงินที่ต้องชำระจะหักจาก Cash Balance ก่อนจนกว่าจะหมดแล้วจึงจะมีการบันทึกส่วนที่เกินจาก Cash Balance ของลูกค้าเป็นลูกหนี้ Credit Balance หรือ Margin Loan

การขายหลักทรัพย์หรือขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมก็จะมีการบันทึกเงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ฯ ไว้ใน Cash Balance หรือลดภาระหนี้ Margin Loan แต่มูลค่าขายชอร์ตหลักทรัพย์ที่ยืมจะถูกหักออกจาก Cash Balance ในการคำนวนดอกเบี้ย