Preparation is key as US protectionism persists
(19/04/2018 - 10:00)
  • ความกลัวเรื่องสงครามการค้าลดลงแต่สหรัฐเน้นปกป้องธุรกิจในประเทศมากขึ้น
  • ธุรกิจเหล็กและเดินเรือมีความเสี่ยง แต่อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ยังไม่สะเทือน
  • ธุรกิจหมูได้ประโยชน์, ผู้ผลิตปลายน้ำเผชิญความเสี่ยงน้อยกว่า, ส่วนผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า/อุตสาหกรรมอาจจะมี upside
  • ถ้าปัญหาลุกลาม กำแพงภาษีอีก $1 แสนล้าน ถัดไปจะเน้นที่กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์

 

ความกลัวเรื่องสงครามการค้าลดลง, ระดับภาษีในปัจจุบันยังไม่น่าเป็นห่วง แต่ความผันผวนจะยังคงอยู่เนื่องจากสหรัฐจะเน้นปกป้องธุรกิจในประเทศมากขึ้น

ความกลัวเรื่องสงครามการค้าลดลงหลังจากที่จีนแสดงเจตนาที่จะเปิดเศรษฐกิจของประเทศ เราคิดว่าการที่จีนตั้งกำแพงภาษี $3 พันล้านเพื่อตอบโต้การตั้งกำแพงภาษีสินค้าเหล็กโดยสหรัฐไม่เป็นสาระสำคัญ ถึงแม้จะมีการตั้งสมมติฐานว่าจะมีการตั้งกำแพงภาษี $1.5 แสนล้านเพื่อป้องกันสินค้าจากจีน (ซึ่งน่าจะมีการเจรจาขอปรับลดลงมาได้หรืออาจจะยกเลิกทั้งหมดเลยก็ได้) ก็จะกระทบกับ GDP ของจีนแค่ 0.4% เท่านั้น เรามองว่าข้อขัดแย้งด้านการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน รวมถึงการเจรจาปรับข้อตกลงทางการค้าในอดีต (NAFTA, KORUS-Korea) เป็นเครื่องชี้ถึงแนวโน้มการปกป้องธุรกิจในประเทศของสหรัฐ เรามองว่าสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศจะยังคงผันผวนต่อไป และความไม่แน่นอนในด้านนี้อาจจะทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนออกไป และทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอลง

 

     ธุรกิจเหล็ก และเดินเรือถูกกระทบบ้าง แต่อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ไม่สะเทือน

เราคาดว่ากลุ่มเหล็กจะยังคง underperform ต่อเนื่อง (-14% ในปี 2017) ซึ่งเกิดจากความอ่อนแอในเชิงโครงสร้าง ดัชนีราคาหุ้นกลุ่มนี้ลดลงมาแล้ว 8.6% ตั้งแต่เดือนมีนาคม จากผลประกอบการปี 2017 ที่อ่อนแอ และความกังวลของตลาดในเรื่องผลกระทบจากการตั้งกำแพงภาษี ซึ่งอาจจะทำให้การค้าโลกชะลอตัวลง ดังจะสะท้อนได้จากดัชนีการขนส่งทางเรือที่ลดลง 13% ในช่วงเดียวกัน เราคาดว่ากลุ่มเดินเรือจะยังคงผันผวนถ้าหากประเด็นความกังวลเรื่องปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และการค้ายังคงอยู่  เราคิดว่าข้อเสนอที่จะตั้งกำแพงภาษีเพิ่มอีก $50 หมื่นล้าน (ของทั้งสหรัฐ และจีน) น่าจะกระทบกับกลุ่มยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไม่มากนัก เพราะกลุ่มยานยนต์ของไทยมีการส่งออกไปจีน และสหรัฐต่ำ ในขณะที่การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ของไทยจะเป็นชิ้นส่วนของ smartphone และสายโซ่อุปทานคอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี ในทางกลับกัน ตลาดตอบรับอย่างแข็งขันกับภาษีถั่วเหลืองซึ่งส่งผลให้ราคาถั่วเหลืองในบราซิล/อาร์เจนติน่าพุ่งสูงขึ้นทันที เราคิดว่าธุรกิจการเกษตรของไทยที่ต้องใช้ถั่วเหลืองจะไม่ถูกกระทบเนื่องจากยังมีสต็อกส่วนเกินอยู่ และอาจจะพิจารณานำเข้าจากแหล่งผลิตในสหรัฐได้ในอนาคต

 

ผู้ผลิตหมูอาจจะมี upside, ผู้ผลิตปลายน้ำเผชิญความเสี่ยงน้อยกว่า, ส่วนผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า/อุตสาหกรรม/สื่อสาร อาจจะมี upside

โดยรวมแล้ว ราคาหุ้นของบริษัทที่มีการติดต่อกับประเทศจีนสูงอาจจะแกว่งตัวแรงกว่าในระยะสั้น โดยการตั้งกำแพงภาษี (ซึ่งจะมีผลจริง) $3 พันล้าน จะทำให้ CPF มีโอกาสขายหมูไปจีนได้เพิ่มขึ้นโดยผ่านบริษัทลูกในเวียดนาม และหากมีการดำเนินการตั้งกำแพงภาษี $5 หมื่นล้านเพื่อป้องกันการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนจริง HANA ก็จะเผชิญความเสี่ยงเพราะมีโรงงานอยู่ในประเทศจีน ในขณะที่ DELTA น่าจะยังฟื้นตัวได้ดีเนื่องจากบริษัทเป็นผู้ผลิตปลายน้ำ (OEM) และมีการกระจายฐานการส่งออก นอกจากนี้ ข้อเสนอตั้งกำแพงภาษีข้างต้นยังตั้งเป้าไปที่ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ, printers และอุปกรณ์สื่อสารด้วย ซึ่งบริษัทไทยมีศักยภาพที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเหล่านี้ และอาจจะได้อานิสงส์จากประเด็นนี้

 

ถ้าปัญหาลุกลาม กำแพงภาษีอีก $1 แสนล้าน ถัดไปจะเน้นที่กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์

เราคาดว่ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์จะยังคงเป็นกลุ่มหลักที่ตลาดให้ความสนใจ เนื่องจากคิดเป็นสัดส่วนถึง 29% ของการส่งออกจากจีนไปยังสหรัฐ โดยคาดว่ากำแพงภาษีอีก $1 แสนล้านอาจจะเน้นไปที่กลุ่มชิ้นส่วนมากกว่าสินค้าขั้นปลาย ซึ่งน่าจะช่วยให้ผลกระทบด้านราคาที่เกิดกับผู้บริโภคเจือจางลง โดยกำแพงภาษีอาจจะรวม circuit boards, SSD, modems & routers, และ processing units เนื่องจากมูลค่าการนำเข้ารวมสูงถึง $4.2 หมื่นล้าน เรามองว่าบริษัทในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อย่าง  KCE ซึ่งผลิต circuit boards อาจจะได้อานิสงส์ในประเด็นนี้ นอกจากนี้ เนื่องจากกำแพงภาษีมีขนาดใหญ่มาก จึงเป็นไปได้ที่อาจจะรวมสินค้าผู้บริโภคบางรายการเข้ามาด้วย ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงโดยรวมเพิ่มขึ้น