INVESTMENT STRATEGY - เศรษฐกิจไทยเร่งตัวขึ้นโดยขยายตัว 4.5% ใน 3Q (Prompt Act)
(22/11/2022 - 08:40)
 
  What’s new?
เศรษฐกิจไทยขยายตัว 4.5% yoy ใน 3Q22 ซึ่งเป็นไปตาม consensus และดีขึ้นอย่างมากจากที่ขยายตัวเฉลี่ย 2.4% ใน 1H22 ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในงวดเก้าเดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 3.1% yoy ทั้งนี้ เมื่อเทียบ qoq โมเมนตัมของเศรษฐกิจยังเร่งตัวขึ้น โดยขยายตัว 1.2% qoq จากที่ขยายตัวเพียง 0.7% ใน 2Q22 สภาพัฒน์ฯ คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้จะอยู่ที่ 3.2% yoy (เท่ากับว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3.5% ใน 4Q22) และจะอยู่ที่ประมาณ 3-4% ในปี 2023 
 
ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 3Q22 คือการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ โดยการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 9% yoy จากที่โต 7.1% ใน 2Q22 ในขณะที่การลงทุนก็เติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 5.2% yoy จาก -0.1% yoy ใน 1H22 ส่วนในด้านการค้าต่างประเทศ รายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการเติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 87% yoy เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาเที่ยวประเทศไทยอีกครั้ง ในขณะเดียวกัน เราพบว่าการบริโภคสินค้ากำลังกลับเข้าสู่ระดับปกติ เนื่องจากการอัตราการเติบโตของการส่งออกสินค้าชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 2.7% yoy จากที่โตเฉลี่ย 7.4% ใน 1H22
 
  Analysis
ตัวเลข GDP ล่าสุดที่ออกมาไม่ได้ทำให้มุมมองของเราต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนไป โดยเรายังคงมองว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ โดยเฉพาะรายได้จากภาคบริการ ทั้งนี้ แม้ว่าจำนวน และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวขึ้นอย่างมากใน 3Q แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อน COVID ระบาดอย่างมาก ซึ่งหมายความว่ายังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก ถึงแม้เราจะคาดว่าจะกระบวนการเปลี่ยนจากสินค้าไปยังภาคบริการตามปกติจะดำเนินต่อไป แต่เราคิดว่าการบริโภคสินค้าในประเทศไทยจะยังคงขยายตัวต่อไปอีก เพราะเงินเฟ้อแผ่วลงในขณะตลาดแรงงาน และสภาวะของผู้บริโภคยังคงฟื้นตัวดีขึ้นอีก  แต่ในอีกด้านหนึ่ง แนวโน้มการส่งออกสินค้า และการลงทุนอาจจะยังไม่ดีนัก เพราะอุปสงค์ในตลาดโลกน่าจะยังลดลงต่อไปไปอีกจนถึง 1H23 เป็นอย่างเร็ว ซึ่งอัตราการเติบโตของการส่งออกที่ชะลอตัวลงจะเป็นตัวฉุดการลงทุนภาคเอกชนในอีกหกเดือนข้างหน้า นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีมีการตุนสต็อกสินค้าเอาไว้ค่อนข้างสูงแล้วใน 3Q22 ซึ่งหมายความว่าในช่วง2 – 3 ไตรมาสข้างหน้าอาจจะเป็นช่วงที่มีการระบายสต็อกออกมาก็ได้ ดังนั้น เราจึงคาดว่าข้อมูลทางฝั่งอุปทานอย่างเช่น MPI และ PMI น่าจะลดลงในช่วงต่อไป