หลากหลายปัจจัยลบ - 18 พฤศจิกายน 2022
(18/11/2022 - 07:30)
 
ตลาดหุ้นวานนี้
SET Index -5 จุด (-0.31) ปิดที่ระดับ 1,615 จุด กังวลจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด -19 ในจีนเร่งตัวขึ้นกระทบ ศก. และดีมานด์พลังงาน กดดันหุ้นกลุ่มน้ำมัน ส่วนหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลถูกเทขายหลังจากที่ YTD ราคาปรับขึ้นแรงและ Upside เริ่มจำกัด
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้      
ประเมิน SET ปรับตัวลงแนวรับ 1,610 / 1,600 จุด จากหลากหลายปัจจัยลบโดยจนท.FED หลายท่านยังคงหนุนให้เร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อไปหลังเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง ( US bond yield และ USD ดีดตัวขึ้น ), ราคาน้ำมันดิบทรุดตัวลงแรงจากยอด Covid-19 ในจีนพุ่งขึ้น นอกจากนี้ข่าวโบรกเกอร์แห่งหนึ่งถูกสั่งปิดทำการชั่วคราวจะส่งผล sentiment เชิงลบต่อภาวะตลาด
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
  SCGP SCC GPSC BGRIM GULF TASCO ได้ประโยชน์ราคาพลังงานลดลง
  AOT CENTEL ERW BA AAV SISB CPN CRC CPALL WHA อานิสงส์การเปิดประเทศ
  BEM BTS BH BDMS BCH INTUCH ADVANC กลุ่ม Defensive ช่วงตลาดผันผวน
หุ้นแนะนำวันนี้
  ADVANC (ปิด 187 ซื้อ/เป้า 238 บาท) มี Sentiment บวกจากข่าวเตรียมจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน AISIF มูลค่า 1 แสนล้านบาท เป็นบวกต่อ P&L จากค่าเสื่อมราคาลดลง, ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยจากการซื้อ 3BB
  BEM (ปิด 9.45 ซื้อ /เป้า 11.50 บาท) ไตรมาส 3 ว่าดีแล้วไตรมาส 4 จะดียิ่งกว่าจากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าไต้ดิน ล่าสุดมีข่าวดีBEM เตรียมประชุมบอร์ดเพื่อเซ็นสัญญารถไฟฟ้าสายสีส้ม 28 พ.ย.นี้
บทวิเคราะห์วันนี้
ADVANC, BH, EPG
ประเด็นสำคัญวันนี้
  (-) น้ำมันร่วงแรง ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในจีนเร่งตัวขึ้นกดดันดีมานด์พลังงาน: ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 3.95$ (-4.6%) ปิดที่ 81.64$/bbl หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในจีนยังเร่งตัวขึ้น ล่าสุดจีนรายงานมีผู้ติดเชื้อโควิด -19 รายใหม่ (16 พ.ย.22) เพิ่มขึ้นเป็น 23,276 ราย เทียบกับวันก่อนหน้าอยู่ที่ 20,199 ราย 
  (+/-) จับตาประชุม APEC ลุ้นผลักดันเขตการค้าเสรี FTAAP: APEC 2022 จัดขึ้นในวันนี้ และ 19 พ.ย.นี้ ประเด็นที่จับตามองมากที่สุดคือการผลักดันเขตการค้าเสรี FTAAP หากสำเร็จจะมีขนาดเศรษฐกิจสูงถึง 52 ล้านล้านเหรียญคิดเป็น 60% ของ GDP โลกเป็นบวกต่อภาคการค้า ส่งออก และ นิคมฯ ของไทย
  (+) สัปดาห์หน้า สภาพัฒน์ประกาศ GDP 3Q22 ของไทย: ในวันที่ 21 พย.นี้ เบื้องต้น BB Consensus คาด GDP 3Q22 ของไทยจะขยายตัว 4.3% สูงขึ้นจาก 2.5% ใน 2Q22 และ 2.3% ใน 1Q22 นับเป็น Sentiment บวกต่อกลุ่มธนาคารสะท้อนสินเชื่อที่ยังขยายตัวและปัญหาหนี้ NPL ที่ลดลง