เน้นหุ้นรายตัว - 22 มิถุนายน 2022
(22/06/2022 - 07:45)

ตลาดหุ้นวานนี้

SET บวกแรง 15 จุด ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศประกอบกับภายในมีข่าวดี ครม. อนุมัติมาตรการลดค่าครองชีพ, ออกมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว ขณะที่หุ้นโรงกลั่นมีแรงซื้อคืนคาดหวังภาครัฐเรียกดึงเงินจากกำไรส่วนเกินของโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซน้อยกว่าที่ภาครัฐเคยให้ตัวเลขไว้

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

ประเมิน SET แกว่งตัว 1,565 - 1,585 จุด แม้ว่าดัชนีจะได้ sentiment เชิงบวกจากตลาดหุ้นรอบบ้านที่ดีดตัวขึ้นรวมถึงแรงซื้อตามสัญญาณเทคนิค Oversold อย่างไรก็ตามความกังวลเศรษฐกิจถดถอยจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึง Fund flow ต่างชาติที่ไหลออกโดย Net sell 2.5 หมื่นลบ. (MTD)  จะยังคงเป็นแรงกดดันต่อการลงทุนในช่วงนี้ 

22 – 23 มิ.ย. ติดตาม FED แถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐรอบครึ่งปีต่อสภาฯ

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • AOT AAV BA CENTEL ERW SHR AWC MINT มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ
  • GPSC BGRIM GULF อานิสงส์การปรับขึ้นค่าไฟฟ้า Ft และราคาน้ำมันดิบเริ่มชะลอตัว
  • TU ASIAN GFPT XO กลุ่มส่งออกได้อานิสงส์เงินบาทอ่อนค่า

หุ้นแนะนำวันนี้

  • ASIAN (ปิด 17.20 ซื้อ/เป้า 23 บาท)ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าล่าสุดแตะระดับ 35.40 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่ามากสุดในรอบกว่า 5 ปี แนวโน้มงบ 2Q22 ยังดีต่อเนื่อง ปลายปีเตรียม IPO บริษัทลูกในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (AAI) เข้าตลาดฯ
  • BEM (ปิด 8.95 ซื้อ/เป้า 10 บาท) จำนวนผู้เข้าใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน และ ทางด่วนเพิ่มขึ้นจากเปิดเทอม และเปิดประเทศ และมี Upside หลัง รฟม.เปิดขายซองประมูลงานรถไฟฟ้าสายสีส้มซึ่ง CK + BEM มีโอกาสชนะประมูลมากที่สุด(เพราะงานส่วนใหญ่เป็นงานใต้ดิน)

บทวิเคราะห์วันนี้

OSP (ปิด 33.5 ซื้อ/เป้า 38), PTTEP (ปิด 163 ซื้อ/เป้า 185)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (+/-) กลุ่มไฟแนนซ์ จับตามสคบ. ประชุมกำหนดเพดานดอกเบี้ยเช่าซื้อ: เดิมได้ข้อสรุปสำหรับเพดานดอกเบี้ยเช่าซื้อรถใหม่ 15% รถยนต์ใช้แล้ว 20% แต่ในส่วนของมอเตอร์ไซค์ยังตกลงกันไม่ได้เนื่องจากคณะทำงานเสนอให้เก็บที่ 26% ขณะที่ผู้ประกอบการต้องการที่ 30% วันนี้คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปกับประเด็นดังกล่าวและอาจจะเป็น Sentiment ลบกับหุ้นไฟแนนซ์ อาทิ TK NCAP SAWAD และ MTC
  • (+/-) คืนนี้ติดตามเจอโรม พาวเวลแถลงนโยบายครึ่งปีต่อสภาฯ คองเกรส: ประธานเฟดจะขึ้นกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อวุฒิสภาในวันที่ 22 มิ.ย. และสภาผู้แทนฯ 23 มิ.ย. จับตาการแถลงการณ์ดังกล่าวจะมีถ้อยแถลงที่ช่วยดึงความเชื่อมั่นให้กับตลาดและนักลงทุนได้หรือไม่ โดยเฉพาะการเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างไร ศก. ถึงจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
  • (+/-) ติดตามตัวเลขส่งออกของไทยเดือน พ.ค. คาดโดยรวมยังขยายตัวดี: เบื้องต้น Consensus คาดตัวเลขส่งออกเดือน พ.ค. ของไทยจะขยายตัว 6-8%yoy ลดลงจากที่ขยายตัว 9.9%yoy ในเดือน เม.ย. ส่วนหนึ่งคาดว่าจะเป็นผลกระทบจากการล็อกดาวน์กรุงปักกิ่งและเชี่ยงไฮ้ของจีน แต่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่ายังหนุนให้การส่งออกรวมยังขยายตัวได้