เปิดบัญชีออนไลน์ กับ บล.กรุงศรี

เลือกเปิดบัญชีได้หลายช่องทาง ดังต่อไปนี้

  • เปิดบัญชีผ่านเว็บไซต์
  • เปิดบัญชีผ่านเว็บไซต์ธนาคาร (Krungsri Online)
  • เปิดบัญชีผ่าน Mobile Application (Krungsri Securities iFUND)

เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ ผ่านธนาคารกรุงศรี เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ ผ่านแอปฯ

ทำไมต้องเปิดพอร์ตกับ KSS

เปิดบัญชีง่าย

เพราะกรอกข้อมูลออนไลน์ และไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก ดูรายละเอียดประเภทบัญชีเพิ่มเติม คลิกที่นี่

อนุมัติบัญชีเร็ว!ใน 1 นาที*

อนุมัติเปิดบัญชีได้ไวใน 1 นาที
*ต้องยืนยันตัวตนผ่านระบบ i-CONFIRM หรือ NDID
**บัญชีประเภท Cash Balance วงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท และ เงื่อนไขตามที่บริษัทกำหนด

ไม่มีค่าคอมฯ ขั้นต่ำ

เราคิดค่าคอมฯ ตามจริงไม่มีขั้นต่ำต่อวัน 50 บาท*
*เมื่อลูกค้าใช้บริการการรับเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)

เลือกเปิดบัญชีได้หลายช่องทาง

  1. เปิดบัญชีผ่านเว็บไซต์
  2. เปิดบัญชีผ่านเว็บไซต์ธนาคาร (KOL)
  3. เปิดบัญชีผ่าน Mobile Application (Krungsri Securities iFUND)

เครื่องมือลงทุนครบ ใช้ฟรีทุกฟีเจอร์

ทั้ง Streaming, eFin Trade+, iFund, KSS Stock Expert, KSS stock AI, eFin Stock Pickup, eFin Mobile และ Aspen

เทรดไม่เป็น เรามีสอน

ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เราจัดออนไลน์คลาสสอนใช้เครื่องมือ และแนวคิดการลงทุน รวมถึง LIVE เพื่อตอบทุกข้อสงสัยในการลงทุนทุกวัน


หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลหรือพบปัญหาในการใช้บริการ ท่านสามารถอ่านคำถามที่พบบ่อยเพิ่มเติมได้โดย คลิกที่นี่
หรือ ติดต่อ Krungsri Securities : 0 2638 5500 , 0 2659 7777

เตรียมความพร้อมก่อนเปิดบัญชี 

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • สัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป
  • ไม่เคยเปิดบัญชีกับ บล.กรุงศรี มาก่อน
  • มีคุณสมบัติตามที่บริษัทกำหนด

หลักฐานการสมัคร

  • บัตรประชาชน (กรุณาปิดทับข้อมูลศาสนาและกรุ๊ปเลือด ที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนของท่าน(ถ้ามี) ก่อนถ่ายภาพและนำส่งเข้าระบบ)
  • หน้าแรกสมุดบัญชีธนาคาร เพื่อสมัคร ATS
  • หลักฐานทางการเงิน (เฉพาะบางประเภทบัญชี หรือตามที่บริษัทร้องขอ)
  • เอกสารอื่นๆ ตามที่บริษัทร้องขอ (ถ้ามี)

ยืนยันตัวตนสะดวกผ่าน 3 ช่องทาง 

  1. ยืนยันตัวตนด้วยบริการ NDID ของธนาคาร รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
  2. ยืนยันตัวตนด้วยบริการ Krungsri i-CONFIRM ผ่านสาขาของธนาคาร Krungsri รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่


หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลหรือพบปัญหาในการใช้บริการ ท่านสามารถอ่านคำถามที่พบบ่อยเพิ่มเติมได้โดย คลิกที่นี่
หรือ ติดต่อ Krungsri Securities : 0 2638 5500 , 0 2659 7777

ขั้นตอนการสมัครเปิดบัญชีและยืนยันตัวตน
ผ่าน Mobile Application (Krungsri Securities iFUND)

  • คู่มือการสมัครเปิดบัญชีแบบออนไลน์ เลือกวิธีการยืนยันตัวตนด้วยบริการ NDID ของธนาคาร คลิกที่นี่
  • คู่มือการสมัครเปิดบัญชีแบบออนไลน์ เลือกวิธีการยืนยันตัวตนด้วยบริการ Krungsri i-CONFIRM ผ่านสาขาของธนาคาร Krungsri คลิกที่นี่
หรือ กรอกข้อมูลแจ้งความประสงค์เปิดบัญชี

ขั้นตอนลงทะเบียนสมัคร และ ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านบริการ (NDID) ของแต่ละธนาคาร

ธนาคาร ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียนสมัครบริการ
ขั้นตอนที่ 2 ยืนยันตัวตน
รายละเอียดเพิ่มเติม
ช่องทางการสมัคร ช่องทางการยืนยันตัวตน
Application ธนาคาร สาขาธนาคาร ตู้ ATM Application ธนาคาร
กรุงศรีอยุธยา
KMA คลิก
กสิกรไทย
KPlus คลิก
กรุงเทพ
Bualuang mBanking คลิก
ไทยพาณิชย์
SCB EASY คลิก
เกียรตินาคิน
KKP Mobile คลิก
ซีไอเอ็มบีไทย
CIMB THAI Digital Banking คลิก
ทหารไทยธนชาต
TTB Touch คลิก
ออมสิน
MyMo by GSB คลิก
ธ.อ.ส.
GHB ALL คลิก


เพื่อให้สามารถเปิดบัญชีออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วนสมบูรณ์ ลูกค้าควรสมัครบริการ NDID กับธนาคาร ให้เรียบร้อยก่อนสมัครเปิดบัญชีกับ บล. กรุงศรี
โดยทำตามขั้นตอนของธนาคารตามรายละเอียดในตารางด้านบน หากท่านพบปัญหาการลงทะเบียนสมัครใช้บริการและยืนยันตัวตนผ่าน NDID กรุณาติดต่อกับธนาคารโดยตรง



ขั้นตอนการลงทะเบียนสมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติ (ATS) ของแต่ละธนาคาร คลิกที่นี่






ติดตั้ง App เพื่อเปิดบัญชีทันที หรือ กรอกข้อมูลแจ้งความประสงค์เปิดบัญชี


ติดตั้งแอปพลิเคชั่นสำหรับเปิดบัญชี



เริ่มต้นลงทุน
  • Step 1 : เมื่อการเปิดบัญชีของท่านได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้รับแจ้งผลการเปิดบัญชีและ เลขที่บัญชี จากบริษัทฯ ผ่านทางจดหมาย และ
  • Step 2 : หลังจากนั้นนำ เลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ มาสร้าง Username และ Password สำหรับใช้งาน Website www.krungsrisecurities.com
  • Step 3 : นำ Username ที่สร้างสำเร็จ Login เข้าเว็บไซต์ และ Mobile Application ที่บริษัทฯมีให้บริการ และเริ่มลงทุนได้ทันที

FAQ

คำถามที่พบบ่อย

ข้อมูลที่พบว่าลูกค้ามักกรอกมาผิดบ่อย และส่งผลให้เปิดบัญชีล่าช้า คืออะไรบ้าง

1.คำนำหน้าชื่อ

2.ที่อยู่ตามบัตรประชาชน ให้ลูกค้ากรอกที่อยู่ในส่วนนี้ ให้ตรงกับบัตรประชาชนทุกจุด

3.ประเภทธุรกิจ เลือก อื่นๆ แล้วใส่เป็น - (ต้องระบุประเภทธุรกิจให้ชัดเจน)

4.สาขาธนาคาร ATS (กรอกชื่อสาขา ให้ตรงกับหน้าสมุดบัญชีที่แนบมา)

5.ต้องการเปิดบัญชีกับที่ปรึกษาการเงินและการลงทุนที่รู้จัก แต่ไม่ได้ระบุ code FA

กรณีที่ลูกค้ารู้จักผู้แนะนำการลงทุน และต้องการเปิดบัญชีกับผู้แนะนำการลงทุนท่านนั้น ต้องทำอย่างไร

ให้ลูกค้าเลือกว่าประสงค์ที่จะเจาะจงที่ปรึกษาการเงินและการลงทุน แล้วระบุรหัสประจำตัวของผู้แนะนำการลงทุน เป็น เลขจำนวน 4 หลัก

ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนบุคคลไม่สำเร็จ (ขั้นตอนที่2) ทำให้ผ่านไปขั้นตอนต่อไปไม่ได้ ต้องทำอย่างไร

ให้ลูกค้าตรวจสอบว่าการกรอกข้อมูลก่อนหน้าครบถ้วนหรือไม่ เช่น กรณีเลือกอาชีพเป็น อื่นๆ และยังไม่ระบุประเภทธุรกิจ เป็นต้น โดยลูกค้าต้องกลับไปกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนก่อน ระบบจึงจะให้ผ่านไปทำขั้นตอนถัดไป

ลูกค้าใหม่ที่เปิดบัญชีตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2564 ต้องการเปิดบัญชีอื่น ๆ เพิ่ม ต้องดำเนินการอย่างไร

การเปิดบัญชีเพิ่ม ยังไม่สามารถเปิดด้วยตนเองผ่านออนไลน์ได้ กรุณาติดต่อที่ปรึกษาการเงินและการลงทุนของท่านเพื่ออำนวยความสะดวกในการเปิดบัญชี

ลูกค้าใหม่ที่เปิดบัญชีแบบ E- open account หากต้องการมีผู้รับมอบอำนาจต้องดำเนินการอย่างไร

กรุณาติดต่อที่ปรึกษาการเงินและการลงทุนของท่าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการมีผู้รับมอบอำนาจ

หลังจากที่ยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันของแต่ละธนาคารเสร็จ ต้องทำอย่างไร?

ต้องทำการกดเข้าแอปพลิเคชั่น Krungsri Securities iFUND อีกครั้งเพื่อทำรายการต่อ

ลูกค้าจะติดตามสถานะการเปิดบัญชีได้อย่างไร

ลูกค้าสามารถเข้ามาที่ Application โดยใช้ Username และ password ที่เคยตั้งไว้ เข้ามาดูสถานะของการเปิดบัญชีของตนเองได้

กรณีที่ลูกค้าส่งยืนยันข้อมูลขอเปิดบัญชีไปแล้ว จะกลับมาแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้หรือไม่

ไม่ได้ เนื่องจากข้อมูลจะอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติเปิดบัญชีแล้ว และลูกค้าสามารถติดตามสถานะการเปิดบัญชีได้ผ่าน application หากมี ข้อมูล/เอกสารต้องแก้ไข หรือ ข้อเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่จะทำการติดต่อลูกค้าเพื่อแจ้งรายละเอียดที่ต้องขอให้แก้ไข หรือ ขอข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมกับการแจ้งเตือนผ่านทาง Notification ของ แอปพลิเคชั่น (บางกรณี)

คำถามการยืนยันตัวตนผ่าน NDID

ขั้นตอนการสมัครบริการและ ขั้นตอนการใช้บริการยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล (NDID) ของแต่ละธนาคาร ต้องดำเนินการอย่างไร

เนื่องจากขั้นตอนในการใช้บริการยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล (NDID) ของแต่ละธนาคารมีความแตกต่างกัน ดูรายละเอียดของแต่ละธนาคาร คลิกที่นี่

ลูกค้าทำ NDID ไม่ผ่านต้องทำอย่างไร

ลูกค้าต้องดำเนินการให้ครบ 2 ขั้นตอน ดังนี้

 1.ขั้นตอนสมัครบริการ ลูกค้าต้องสมัครบริการ NDID กับธนาคารที่บริษัทรองรับ 6 ธนาคาร ดังนี้ กสิกรไทย, กรุงเทพ, กรุงศรี, ไทยพาณิชย์, เกียรตินาคิน, ซีไอเอ็มบีไทย, โดยสามารถดู คู่มือวิธีตรวจสอบว่าสมัคร NDID สำเร็จแล้วหรือไม่

 2. ขั้นตอนการขอใช้บริการยืนยันตัวตน เมื่อลูกค้าสมัคร NDID ในขั้นตอนที่ 1 แล้ว ต้องทำการยืนยันตัวตนผ่าน App e-Open Account (Krungsri Securities iFUND) ตามขั้นตอนในแอปพลิเคชั่นของธนาคารอีกครั้ง คู่มือการเปิดบัญชีออนไลน์ (หน้า14)

 3. ตรวจสอบว่าบัตรประชาชนหมดอายุ หรือเป็นข้อมูลบัตรประชาชนคนละใบกับที่เคยทำ NDID ไว้หรือไม่

การยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ บล.กรุงศรี มีค่าใช้จ่ายหรือไม่?

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ธนาคารที่ใช้สำหรับการยืนยันตัวตนผ่าน NDID กับธนาคารที่ใช้สำหรับอนุมัติหักบัญชีธนาคารอัตโนมัติ (ATS) ต้องเป็นธนาคารเดียวกันหรือไม่?

ไม่จำเป็นต้องเป็นธนาคารเดียวกัน

การยืนยันตัวตนผ่าน NDID ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

การยืนยันตัวตนผ่าน NDID เป็นบริการของธนาคาร ลูกค้าต้องเตรียมความพร้อมก่อนการใช้บริการ ดังนี้

1. มีบัญชีกับธนาคารที่ต้องการใช้บริการ NDID (คลิกดูชื่อธนาคาร)

2. ลงทะเบียนสมัคร NDID กับธนาคารในข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว (แนะนำ ธ.กรุงเทพ กสิกร กรุงศรีฯ สามารถสมัครได้ใน mobile application ของธนาคาร) (คลิกดูวิธีการสมัคร NDID ของแต่ละธนาคาร)

3. มี Mobile Application ของธนาคารในอุปกรณ์ที่ใช้สมัคร (ศึกษาวิธีการใช้บริการยืนยันตัวตนของแต่ละธนาคาร)

สามารถสมัครบริการ NDID ก่อนการเปิดบัญชีกับ บล.กรุงศรี ได้หรือไม่?

ได้ ควรสมัครบริการกับธนาคารให้เรียบร้อยก่อน และเมื่อถึงขั้นตอนการยืนยันตัวตนกับธนาคาร จะได้สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่อง

หากยืนยันตัวตนผ่านธนาคาใดธนาคารหนึ่งไม่ผ่าน สามารถยืนยันตัวตนผ่านธนาคารอื่นได้หรือไม่?

สามารถทำได้ เช่น ในกรณีที่ยืนยันตัวตนผ่าน ธ.กสิกร ไม่ผ่าน สามารถเปลี่ยนไปยืนยันตัวตนผ่าน ธ.กรุงเทพ ได้

คำถามเกี่ยวกับการสมัคร ATS

วิธีการลงทะเบียนสมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติ (ATS) ทำอย่างไร?

คู่มือ และช่องทางการสมัคร ATS แต่ละธนาคาร คลิกที่นี่